จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ตามรอยพระสมเด็จ ช่างหลวง


         
วิธีแกะแม่พิมพ์

         วิธีแกะพิมพ์ทรงของแม่พิมพ์ต่างๆซึ่งจะแยกออกไปหลายพิมพ์ตามการออกแบบของหัวหน้าช่าง (ยศตามราชการ เช่น หลวง หมู่ ) แต่วิธีการแกะจะเหมือนกัน การเรียนศิลป์คงต้องมีหลัักการในการเรียนการสอน เพื่อให้ลักษณะของการแกะเหมือนกัน วิธีการเก็บงานสวยงามเหมือนกัน โดยพิจารณาได้จาก พระสมเด็จที่แกะพิมพ์ออกมา ซึ่งจุดสังเกตุ หลักๆนั้น มีอยู่หลายจุด เช่น เกศของพระพิมพ์ใหญ่ที่เกิดจากการงัดและสบัดข้อมือไปทางซ้ายไม่ต้องฝืนธรรมชาติ แต่ก็มีงัดไปทางขวาบ้างเพื่อสร้างจุดแตกต่าง เกศก็จะมีองศานิดๆ ไม่ค่อยตรงแข็งทื่อๆ ส่วนพิมพ์อื่นๆรายระเอียดจะมีมากกว่า การแกะต้องมีรอยต่อตรงมุมขวาของซุ้มครอบแก้ว รอยต่อของแขน ซึ่งรอยต่อนี้จะเห็นได้ ส่วนใหญ่ต้องตะแคงข้างดูถึงจะเห็นรอยต่อ และการแกะองค์พระจะเริ่มจากแขนขวา ขึ้นไปทางไหล่ขวา เข้าอกขวาลงท้องขวา แล้วจากท้องซ้าย ขึ้นมาที่อกข้างซ้าย ออกไหล่ซ้าย เข้าสู่แขนซ้าย แล้วแกะหน้าตักกับขา ทางปลายจีวรแกะแขนผ่านหน้าตักซ้าย หน้าตักขวา แล้วไปบรรจบที่แขนขวา จุดพิจารณาอีกจุดคือปลายฐานแรก ด้านซ้ายซึ่งจะเป็นการเก็บงานโดยวิธีงัดขึ้น ปลายฐานจะเชิดขึ้นไปทางด้านบน ดูคล้ายๆหัวเรือ การแกะฐานล่างอีก 2 ฐานก็จะเป็นในลักษณะแบบนี้ คือ แกะกดทางขวา แล้วค่อยๆไล่ไปทางซ้ายมือ ปลายสุดจะค่อยๆงัดขึ้น การจำแม่พิมพ์กับเลือกจำวิธีการแกะแม่พิมพ์นั้น ควรที่จะเลือกจำวิธีการแกะแม่พิมพ์ จะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า จะไปจำตำหนิ ตรงนั้นตรงนี้ เหตุผลคือ ไม่มีช่างหลวงคนไหนสิ้นคิดที่จะไปแกะพิมพ์ให้เหมือนคนอื่น แล้วจะได้เลื่อนยศ เลื่อนขั้นได้อย่างไร ผลงานเป็นตัวบอกฝีมือ แล้วบอกว่าที่หลวงท่านนั้นท่านนี้เป็นคนแกะแม่พิมพ์นะครับ กว่าจะได้เป็นหลวงอายุเท่าไหร่แล้ว สายตาจะเป็นปกติอยู่หรือเปล่า ใช้ช่างในสังกัดเป็นคนแกะพิมพ์ไม่ดีกว่าหรือ แต่ให้หลวงท่านนั้นเป็นคนกำหนดลักษณะ ทรงพิมพ์โดยการวาดให้ดู จะง่ายกว่าไหม ส่วนตัวพระเกจิ จะเป็นคนที่มาแกะแม่พิมพ์ เชียวหรือ แค่กิจนิมนต์ สอนหนังสือ ภาระกิจประจำวัน ปฏิบัติกรรมฐาน นั่งฌาณฝึกสมาธิก็หมดเวลาแล้วมั้งครับ ซึ่งส่วนใหญ่ที่ทำพระเครื่องก็จะเป็นช่างที่อยู่ในวัด ซึ่งอาจจะออกมาไม่สวยเหมือนช่างหลวงที่คัดฝีมือมาอย่างดี พระเกจิที่นับถือ เราก็ไปขอผงมงคล ที่ท่านตั้งจิตเขียนคาถาแล้วลบ มาเป็นผงพุทธคุณ นำมาผสมส่วนการนำพระออกจากแม่พิมพ์ น่าจะใช้วิธีแคะพระออกจากแม่พิมพ์ อาจจะมีการโย้ไปบ้างของพระ อาจจะนำมาเป็นจุดสังเกตุได้ ส่วนด้านหลังพระ ความเป็นไปได้น่าจะเป็นหลังเรียบเกือบทั้งหมด การนำไปผึ่งลมอาจจะใช้ใบตองมารองไว้ก่อน เพราะในใบตองจะมีไขเวลาเอาออกจะไม่ติด แต่จะทำให้หลังเป็นร่องของใบตอง ส่วนความแตกต่างของหลังพระ อาจเกิดได้หลายกรณี ไม่ว่าการนำพระไปใส่ทำให้พระเกิดการหดตัว รวมทั้งการจุ่มรัก ความแตกต่างของอุณหภูมิที่พระได้สัมผัส ซึ่งตัวแปรต่างๆนี้ ทำให้ลักษณะพระไม่เหมือนกัน