จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2556

พิจารณาพระโลหะ ด้วยวิทยาศาสตร์เบื้องต้น


การศึกษาพระโลหะ

          พระโลหะต่างๆนั้นถ้าเราศึกษาอย่างจริงจังแล้วนั้น เราต้องพิจารณาดูว่าโลหะที่เป็นมงคลนั้น คนสมัยโบราณท่านใช้โลหะอะไร ซึ่งคงจะไม่พ้น ทองคำ เงิน นาก( ทองแดง ผสม ทองคำ ) ซึ่งไม่ว่าจะทำพระชนิดใดจะต้อง มีโลหะมงคลผสมอยู่ไม่มากก็น้อย ดังนั้นในการพิจารณาว่าเป็นพระแท้ หรือพระปลอมจะต้องนำคุณสมบัติของโลหะ ของแต่ละชนิดมาพิจารณาประกอบด้วย เพราะโลหะแต่ละชนิดมีคุณสมบัติเฉพาะตัว หรือที่เรียกว่า ค่าความถ่วงจำเพาะ (หรือค่าความหนาแน่นของโลหะ) ซึ่งโลหะในแต่ละชนิดจะไม่เท่ากัน โดยนำมาเทียบกับน้ำ ที่มีค่าเป็นหนึ่ง

ตารางความหนาแน่นของสสารชนิดต่าง ๆ
         ค่าความหนาแน่นในหน่วย kg/m3
ค่าความถ่วงจำเพาะ
อิริเดียม                  22650

ออสเมียม               22610

แพลทินัม               21450

ทองคำ                   19300
      19.300
ทังสเตน                 19250

ยูเรเนียม                19050

ปรอท                     13580

แพลเลเดียม            12023

ตะกั่ว                      11340
                11.340
เงิน                        10490
      10.490
ทองแดง                   8960
       8.960
เหล็ก                        7870

ดีบุก                         7310

ไทเทเนียม                4507

เพชร                        3500

อะลูมิเนียม               2700

แมกนีเซียม               1740

น้ำทะเล                  1025

น้ำ                         1000
1.000
 
จะเห็นได้ว่าทองคำ มีค่าความหนาแน่นสูงมาก เมื่อเทียบกับโลหะชนิดอื่นๆ เป็นดั่งคำที่นักสะสมพระท่านสอนไว้ว่า ให้เก็บพระที่ตึงมือสำหรับพระโลหะ  จากที่เราดูคุณสมบัติของโลหะ เพียงเราหยิบมาก็จะรู้แล้วว่า มีทองคำผสมอยู่หรือไม่ เพราะถ้าไม่มีทองคำผสมเราจะถือว่าเป็นพระปลอมทั้งหมด มันเป็นการผิดสูตรการทำพระโบราณแต่นี่เป็นเพียงการพิจารณาขั้นตอนแรก แต่ได้ผลมากกว่าการใช้เพียงตาดู หลังจากนั้นเราจะมาพิจารณาต่อไป ถึงศิลปะการสร้างพระ ในแต่ละวิธี เช่น 
1.       แบบเบ้าทุบ
2.       แบบบล็อกประกบตัดช่อ
3.       แบบเทลงเบ้า ในเนื้อชินต่าง
     อีกทั้งเรายังนำคุณสมบัติเหล่านี้ ไปตรวจสอบว่าเป็นทองชุบหรือเปล่า โดยการใช้เทียบปริมาตรกับน้ำหนัก โดยการนำทองคำไปใส่ลงในภาชนะที่มีน้ำอยู่เต็ม เพื่อไปทดแทนปริมาตร  ทองหนัก 1 บาท ได้ปริมาตร เท่านี้ นำไปเทียบกับโลหะที่ต้องการวิเคราะห์ต่อไป


วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2556

วิธีการจัดพิธีหล่อพระพุทธรูปต่างๆที่พระอุโบสถวัดสุทัศน์



วิธีการจัดพิธีหล่อพระพุทธรูปต่างๆที่พระอุโบสถวัดสุทัศน์


โลหะที่ใช้ในการหล่อพระกริ่งและพระชัยวัฒน์  ต้องใช้โลหะ 9 อย่าง เรียกว่า นวโลหะ  ซึ่งประกอบด้วย
ชินหนัก            1 บาท 
จ้าวน้ำเงินหนัก  2 บาท
เหล็กละลายตัว  3 บาท
บริสุทธิ์             4 บาท
ปรอท                5 บาท
สังกะสี              6 บาท
ทองแดง            7 บาท
เงิน                    8 บาท
ทองคำ               9 บาท
มารวมกันใส่เบ้าหลอมให้กินกันดี   แล้วแผ่ให้แบน เตรียมไว้เพื่อลงพระยันต์  108 กับ นะ ปถมัง 14 นะ ครั้นได้ฤกษ์ยามดีก็ทำพิธีลงพระยันต์ในอุโบสถต่อไป
เครื่องพิธีในการลงพระยันต์ 108 กับนะ ปถมัง 14 นะ จัดดังนี้
1.       เทียน-ทอง หนัก 4 บาท ไส้ 56 เส้น 1 คู่
2.       เทียน-ทอง หนัก 1 บาท ไส้  9 เส้น 5 คู่
3.       ข้าวตอก 5 กรวย
4.       ดอกไม้ 5 กรวย ( มักใช้ดอกบัวขาว เรียกว่า ดอกบุณฑรีกะ)
5.       แป้งกระแจะและน้ำมันหอม 7 อย่าง  ( สำหรับจุณเจิม)
6.       ใบศรี ซ้ายขวา
7.       ศรีษะสุกร 1ศรีษะ
8.       มะพร้าว 1 กล้วย 1 และเครื่องกระยาบวช
9.       ผ้าขาว 2 ผืน ( ใช้ปูรองเครื่องสักการะ 1 ผืน และรองนั่ง 1ผืน )
เมื่อตกแต่งเครื่องสักการะเรียบร้อยแล้ว  พอได้ฤกษ์ได้งามยามดีก็จุดธูปเทียนสักการะครูอาจารย์เสร็จแล้วเริ่มลงพระยันต์ 108 กับ นะปถมัง 14 นะ ลงแล้วลบถมให้ได้ 108 ครั้ง



ชื่อพระยันต์ที่ลง มีดังนี้
1.       พระยันต์ ชื่อ  ประทุมจักร 5 ดวง
2.       พระยันต์ ชื่อ ภควัมบดี 5ดวง
3.       พระยันต์ ชื่อ พระไตรสรณาคม 3 ดวง
4.       พระยันต์ ชื่อ นวโลกุตรธรรม 1 ดวง
5.       พระยันต์ ชื่อ พระนรา 5ดวง
6.       พระยันต์ ชื่อ พระจตุราริยสัจจ์ 2 ดวง
7.       พระยันต์ ชื่อ พระรัตนตรัย 1 ดวง
8.       พระยันต์ ชื่อ พระจักรสิรโลก 9 ดวง
9.       พระยันต์ ชื่อ มงกุฎพระพุทธเจ้า 1 ดวง
10.   พระยันต์ ชื่อ พระบารมี 30 ทัศ 2 ดวง
11.   พระยันต์ ชื่อ สุกิตติมา 2 ดวง
12.   พระยันต์ ชื่อ ปถมังพระเจ้า 5 พระองค์ 5ดวง
13.   พระยันต์ ชื่อ พระยันต์องค์รักษ์ 4 ดวง
14.   พระยันต์ ชื่อ โสฬสมงคล 1 ดวง
15.   พระยันต์ ชื่อ พระพุทธเจ้า 28 พระองค์ 28 ดวง
16.   พระยันต์ ชื่อ ฆเฎสิ 1 ดวง
17.   พระยันต์ ชื่อ พระพุทธคุณ 7ดวง
18.   พระยันต์ ชื่อ พระนวภา 25 ดวง
19.   พระยันต์ ชื่อ พระชฎามหาพรหม 1ดวง
20.   พระยันต์ ชื่อ จตุโร 1 ดวง
รวม 108 พระยันต์
                ลง นะ ปถมัง 14 นะ  ดังนี้
       1.นะบังสมุทร
       2.นะนาคบาศก์
       3.นะวชิราวุธ
       4.นะทน
       5.นะกำจาย
        6.นะปรีชาทุกทิศ
        7.นะครอบจักรวาล
       8.นะบังไตรภพ
        9.นะบังเมฆา
        10.นะสท้านดินไหว
        11.นะกำจัด
        12.นะปิด
       13.นะปิดอากาศ
       14.นะล้อม
                   รวม 14 นะ